วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ประติมากรรมปูนปั้น

ประติมากรรมปูนปั้นประดับสถาปัตยกรรมมีทั้งปั้นเป็นรูปเล่าเรื่อง และลวดลายประดับ งานสลักไม้ก็มีหลงเหลืออยู่บ้าง ในที่นี้จะกล่าวเฉพาะตัวอย่างที่น่าสนใจ

และได้มีการแบ่งเป็นประติมากรรม เป็นยุค

ประติมากรรม ยุคต้นเป็น

ประติมากรรมปูนปั้นรูปบุคคลมีตัวอย่างเป็นแถวพลแบก ปั้นนูนสูง ประดัยที่ผนังกระเปาะของฐานไพทีด้านใต้ของปรางค์ประธานวัดราชบูรณะ พลแบกรูปร่างล่ำลัน หัวหักหายไปแล้วทั้งสิ้น เข้าใจว่าเป็นยักษ์ เครื่องแต่งกายที่สำคัญ ได้แก่ กรองศอคือสร้อยคอที่เป็นแผง และเส้นเชือกคาดไขว้ที่หน้าอก แสดงถึงงานในยุคต้น ในศิลปะสุโขทัยมาก่อน และก่อนหน้านั้นอีก ในศิลปะขอมได้พบที่คาดอกรูปยักษ์ รูปทารในฉากสงคราม

รูปสิงห์ปูนปั้นยังคล้ายศิลปะขอมเทียบเคียงได้กับสิงห์ที่ปราสาทนครวัด สิงห์เหล่านี้รายล้อมรอบเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม อันเป็นเจดีย์ประธานของวัดธรรมมิกราช สิงห์เหล่านี้ได้รับการบูรณะแล้วในอดีตเช่นเดียวกับองค์เจดีย์ ลวดลายประดับของสิงห์บางตัวแสดงถึงงานช่างในยุคต้น ศาสตราจารย์ หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุล ทรงสันนิษฐานจากแบบอย่างศิลปะโดยเทียบกับเหตุการณ์คราวที่สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( เจ้าสามพระยา) เสด็จไปตีได้เมืองขมร เพื่อทรงอธิบายช่วงเวลาที่สร้างรูปสิงห์และเจดีย์องค์นี้

ลวดลายปูนปั้นมีความสำคัญในการศึกษาลำดับทางวิวัฒนาการอันเกิดจากการสืบทอดคลี่คลายจากทั้งภายในและภายนอก นอกจากนี้ ลาดลายปูนปั้นยังใช้ตรวจสอลผลการศึกษาทางด้านรูปแบบของสิ่งก่อสร้างที่ลวดลายนั้นประดับอญุ่ได้เป็นอย่างดี ช่วงอยุธยาได้ปั้นลวดลายประดับปรางค์ เช่น ลายกรวยเชิงประดับตอนล่างของเรือนธาตุ และเฟื่องอุบะประดับตอนบนของธาตุดังที่ปรางค์วัดส้ม อันเป็นแบบแผนของช่างยุคต้น โดยปรับปรุงจากงานประดับส่วนเดียวกันของปรางค์ต้นแบบที่เมืองลพบุรี ซึ่งคลี่คลายจากงานประดับปราสาทแบบขอมอีกทอดหนึ่ง

งานประดับยุคต้นที่ปรางค์วัดนก และปรางค์วัดลังกา คือ ลักษณะร่วมสมัยกับลวดลายประดับที่วัดส้ม อนึ่ง ร่องรอยของการบูรณะสังเกตได้จากลายเดิมถูกปั้นทับหรือปั้นแทนที่ในคราวบูรณะจึงเป็นหลักฐานที่ดีในการศึกษาความแตกต่างของลักษณะลาย

แต่หากคำเครื่องทองในคราวสร้างปรางค์ เพื่อบรรจุไว้ในกรุโดยเฉพาะ ก็ย่อมหมายความว่าในช่วงเวลา 50 ปี ลวดลายประดับยังสืบทอดแบบอย่างมาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงมากนัก


ประติมากรรม

ประติมากรรมแบบล้านนาระยะแรก มีหลักฐานสำคัญทางด้านพระพุทธรูปอันเป็นที่มาของชื่อ " ศิลปะเชียงแสน " ส่วนใหญ่หล่อด้วยสำริด พระวรกายอวบอ้วนประทับขัดสมาธิ พระหัตถ์แสดงปางมารวิชัย พระพุทธรูปแบบนี้มีปัญหาทางด้านกำหนดอายุ

เอกลักษณ์ประการสำคัญของพระพุทธรูปอีกแบบหนึ่งในศิลปะล้านนารุ่นต่อมาคือ ความหลายหลายทางด้านรูปแบบลักษณะ พระอิรอยาบถ และปาง เพราะสร้างขึ้นภายหลังพระพุทธรูประยะแรก นอกจากนี้ก็มีงานปูนปั้น ทั้งรูปแบบเทวดา รูปสัตว์หิมพานต์

สำหรับพระพุทธปูนปั้นของล้านนายุคแรกที่มีหลักฐานช่วยในการกำหนดอายุนั้น เหลืออยู่น้อยมาก ที่น่าสนใจได้แก่ พระพุทธรูปยืนเคยประดิษฐานในจระนำของเจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน เจ้าหน้าที่ของศิลปากรได้เคลื่อนย้ายพระพุทธรูปองค์นี้ไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์เชียงแสน

พระพุทธรูปยืนองค์นี้พระพักตร์คอนข้างกลม พระหนุ(คาง) เป็นปม ขมวดพระเกศาใหญ่ พระรัศมีหักหาย พระองค์ค่อนข้างอวบอ้วน พระอุระนูน ชายจีวรสั้นพาดเหนือพระอังสาซ้ายปลายเป็นรูปเขี้ยวตะขาบลักษณะเช่นนี้ควรเป็นงานคราวเดียวกับที่กับที่สร้างเจดีย์วัดป่าสัก (ราว พ.ศ. 1871 ในรัชกาลของพระเจ้าแสนภูราชนัดดาของพระเจ้ามังราย)

พระพุทธรูปลีลาปูนปั้นอย่างนูนต่ำที่ผนังของเรือนธาตุด้านทิศเหนือ ด้านขวาของจระนำของเจดีย์องค์เดียวกันนี้ ศาสตราจารย์ฌอง บวสเซอรีเยร ตั้งข้อสังเกตว่าเป็นของที่ได้รับอิทธิพลทางด้านประติมานวิทยาจากศิลปะพม่าสมัยเมืองพุกาม หากเป็นดังข้อสังเกต ทฤษฏีที่ว่าพระพุทธรูปลีลาแรกทำกันก่อนในศิลปะสุโขทัยนั้นต้องทบทวนกันใหม่

พุทธศตวรรษที่20 พระพุทธรูปแบบเชียงแสนรุ่นแรกหรือล้านนาระยะแรก ศึ่งมีพระวรกายอวบอ้วนแล้ว สร้างกันตามเมืองในเขตแคว้นล้านนา ซึ่งมีเมืองเชียงใหม่เป็นราชธานีครั้นเมื่อการติดต่อทางด้านพุทธศาสนากับ
สุโขทัยอย่างใกล้ชิด มีผลให้ศิลปะสุโขทัยขึ้นมาแพร่หลาย ทำให้เกิดพระพุทธรูปลักษณะใหม่ขึ้นอีกแบบหนึ่งในศิลปะล้านนาระยะสั้น

พระพุทธรูปปูนปั้นของเจดีย์ทรงปราสาทที่ถูกก่อครอบด้วยเจดีย์ทรงระฆังข้างหอประชุมโลกราช อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีพระพักตร์ค่อนข้างรีแม้เครื่องแต่งพระพักตร์ยังมีลักษณะกลม พระวรกายยังค่อนข้างอวบอ้วนอยู่ก็ตาม แต่อาจทำให้คิดว่าเกี่ยวข้องกับอิทธิพลศิลปะสุโขทัยที่ขึ้นมาแพร่หลายในแคว้นล้านนาเมื่อช่วงแรกพุทธศตวรรษที่ 20

เช่นเดียวกับพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่พระหัตย์ขวายกขึ้นแสดงปานประทานพรทรงครองจีวรเฉียง ขาสั้นฆาฏิที่พาดบนพระอังสาซ้ายยาวลงจรดพระนาภี ในวิหารของวัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ พระพุทธรูปองค์นี้พระราชมารดาของพระเจ้าติโลกราชโปรดให้หล่อขึ้นในราวพ.ศ. 1950

ประติมากรรมรูปเทวดา

รูปเทวดา หรือรูปบุคคลชั้นสูงในศิลปะล้านนาหลักฐานที่มีอยู่ส่วนใหญ่สร้างตั้งแต่ราวพุทธศตวรรษที่ 20 หรือพุทธศตวรรษที่ 21 ลงมา งานปั้นรูปเทวดาคงเป็นงานบูรณะในภายหลังอยู่ที่จระนำตอนล่างของเจดีย์วัดป่าสัก เมืองเชียงแสน ส่วนใหญ่เศียรของรูปเทวดาเหล่านี้หักหายไปแล้วเหลือแต่ส่วนพระวรกาย ผ้าทรงยังไม่ซับซ้อน เมื่อเทียบกับผ้าทรงรูปเทวดาในต้นพุทธศตวรรษที่ 21 ประดับที่ผนังของวิหารเจ็ดยอด วัดมหาโพธาราม เมืองเชียงใหม่

พระพักตร์รูปเทวดาของหน้าวิหารเจ็ดยอดแสดงถึงเค้าความนิยมในศิลปะสุโขทัยที่ยังหลงเหลืออยู่ เครื่องทรงมงกุฎ ภูษาผ้านุ่งมีแบบมากมายหลายแบบมีความวิจิตรพิสดารอันสะท้อนการสืบทอดจากศิลปะที่มีอยู่ก่อน เช่น จากเมืองเชียงแสน และคงจากศิลปะจีน รวมทั้งศิลปะพม่าด้วย นอกเหนือจากแบบอย่างที่มีอยู่ก่อนในศิลปะสุโขทัยอีกเช่นกัน

งานประดับผนังด้านนอกของวิหารนี้แบ่งไว้ 2 แถว แต่ละแถวแบ่งช่องสำหรับรูปเทวดานั่ง ที่ยืนพนมมือประดับในส่วนของพื้นที่อันเหมาะสมตรงหลืบที่เป็นมุมจากการยกเก็จ พื้นหลังของรูปเทวดาเหล่านี้ประดับลายโปร่งประเภทพันธุ์พฤกษา

รูปเทวดาทุกองค์มีพระพักตร์และพระวรกายที่ได้สัดส่วนสมบูรณ์ วงพระพักตร์ยาวรีคล้ายรูปไข่ จึงยังเกี่ยวข้องกับอิทธิพลของศิลปะสุโขทัยที่แพร่หลายขึ้นมาตั้งแต่เมื่อต้นพุทธศตวรรษที่แล้ว

เครื่องประดับมากมายหลากหลายด้วยรูปแบบ เช่น มงกุฏ กรองศอ สังวาล และภูษา เป็นต้น คงจำลองหรือดัดแปลงจากเครื่องทรงในราชสำนักของสมัยนั้น รูปแบบของเครื่องทรง เครื่องประดับเหล่านี้ชวนให้คิดว่าอาจเกี่ยวข้องกับที่มีอยู่ในศิลปะสุโขทัย พม่า และจีน ด้วย

ผนังหรือพื้นหลังของรูปเทวดามีลายรูปดอกไม้ใบไม้เป็นกลุ่ม พร้อมทั้งลายประดิษฐ์เป็นแถบพลิ้วประกอบอยู่ด้วย แสดงถึงอิทธิพลของลวดลายประดับแบบจีนซึ่งไม่เพียงแพร่หลายอยู่ในศิลปะล้านนาเท่านั้น แต่ยังปะปนอยู่ในงานประดับของศิลปะสุโขทัยและศิลปะพม่าด้วยเช่นกัน

งานปูนปั้นดังกล่าวนอกจากประดับผนังให้งดงามแล้ว ยังมีความหมายคือเล่าเรื่องราวในเรื่องพุทธประวัติที่กล่าวถึงเหล่าเทวดาพากันมาชุมนุมท่ามกลางดอกไม้สวรรค์ที่โปรยปรายลงมาเพื่อแสดงความชื่นชมยินดีคราวที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ตรงกับความประสงค์ในการสร้างเพื่อระลึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์

การประดับรูปเทวดายังสืบต่อกันมาโดยประดับที่ผนังเรือนธาตุเจดีย์ทรงปราสาทแต่ด้วยความหมายที่แตกต่างจากรูปเหล่าเทวดาที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เพราะคงความถึงเทวดาผู้รักษาเท่านั้น มิใช่หมายถึงเทพชุมนุมในพุทธประวัติ เช่น ที่เจดีย์วัดโลกโมลี กู่พระแก่นจันทร์ รวมทั้งงานประดับรุ่นหลัง ซึ่งประดับรูปเทวดายืนไว้เสากรอบประตูทางเข้าอุโบสถ เช่น ที่วัดพระสิงห์ เมืองเชียงใหม่

ไม่มีความคิดเห็น: